header

สาระความรู้



โรคอ้วน คือภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันมากเกินความจำเป็น เกินกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญได้ ร่างกายจึงนำพลังงานไปสะสมไว้ในรูปของไขมันตามอวัยวะต่างๆ จึงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ หรือโรคเรื้อรังอื่นๆ ตามมา


เราแค่อวบๆ หรืออ้วนกันนะ? มาลองคำนวณค่าดัชนีมวลกาย หรือค่า BMI ง่ายๆ ด้วยตัวเองตามสูตรนี้กัน


BMI = น้ำหนักตัว(กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง(เมตร) ยกกำลังสอง


ยกตัวอย่าง 


น้ำหนัก 90 กิโลกรัม / (ส่วนสูง 1.70 x 1.70เมตร) = 31.14 kg/m²

BMI = 31.14


แล้วค่า BMI เท่าไหร่จึงเรียกว่า “โรคอ้วน”


18.5 - 22.9 = ปกติ

23.0 - 24.9 = น้ำหนักเกิน เริ่มมีความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ มากขึ้น

25.0 - 29.9 = โรคอ้วนระดับ 1 มีความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ มากยิ่งขึ้น

30.0 - 34.9 = โรคอ้วนระดับ 2 มีความเสี่ยงรุนแรงในการเกิดโรคต่างๆ มาก

35.0 ขึ้นไป = ค่อนข้างอันตราย เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงที่แฝงมากับความอ้วน



ปัจจุบัน โรคอ้วนกลายเป็นวาระระดับโลก องค์การอนามัยโลก หรือ WHO พบว่า ปัญหาน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในผู้ใหญ่เท่ากับ 39% หรือมากกว่า 1.9 พันล้านคน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศไทย หรือเปรียบเทียบได้กับการพบโรคอ้วนได้ในทุก 1 ใน 3 คน ซึ่งถือเป็นเรื่องใกล้ตัวมาก

.

หากตรวจตามภาพแล้วพบว่าตนเองมีค่า BMI เกินมาตรฐาน ควรรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเร่งด่วน เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงอย่างยั่งยืน

.

ที่มา : https://www.bangpakok3.com/care_blog/view/230

.


📌 ติดตามข้อมูลสุขภาพดี ๆ และความรู้เรื่องโรค NCDs เพิ่มเติมได้ที่... https://thaincdalliance.org/ 

📌 สามารถติดตามข้อมูลที่น่าสนใจและอัปเดทใหม่ ๆ ได้ทาง

Tiktok เปลี่ยนนิดพิชิตโรค 

 

#โรคอ้วน #ลดความอ้วน #ThaiNCDAlliance #หยุดอ้วน #โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง #สมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย #เปลี่ยนนิดพิชิตโรค